สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 9-15 พ.ย. 61

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,770 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,192 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.80
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,141 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,768 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.80
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,116 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,532 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 88 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,159 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 31 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 391 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,799 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 30 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,159 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 31 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.7345
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          เวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวขาว 5% ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณตันละ 5 ดอลลาร์สหรัฐ จากตันละ 410-415 เหรียญสหรัฐ
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นตันละ 415-420 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ภาวะการค้าค่อนข้างซบเซา เนื่องจากในช่วงนี้ผู้ส่งออก
ไม่ค่อยทำสัญญาขายข้าวเพราะราคาข้าวของเวียดนามสูงกว่า ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่รายอื่นๆ ประกอบกับอุปทานข้าวในประเทศมีจำกัดหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูนาปรังเพิ่งสิ้นสุดลง
          สำนักข่าว Bloomberg รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากกรมศุลกากรเวียดนาม (the General Department if Vietnam Customs) ว่าในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 362,838 ตัน ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับจำนวน 360,188 ตัน ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมาโดยในช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม-ตุลาคม) เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 5.25 ล้านตัน มูลค่าส่งออก 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
          กัมพูชา
          หนังสือพิมพ์ Khmer Times รายงานว่า ผู้ส่งออกข้าวของกัมพูชามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตัดสินใจของ
อียูที่จะกำหนดอัตราภาษีการนำเข้าข้าวจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (the least developed countries; LDCs) เช่น กัมพูชา และเมียนมาร์
          ทั้งนี้ สหภาพยุโรปกำลังเสนอให้มีการกำหนดภาษีนำเข้าในช่วงปีแรกที่อัตรา 175 ยูโรต่อตัน (ประมาณตันละ 200 ดอลลาร์สหรัฐ) ในปีที่สองที่อัตรา 150 ยูโรต่อตัน (ประมาณตันละ 171 ดอลลาร์สหรัฐ) และในปีต่อไปที่อัตรา 125 ยูโรต่อตัน (ประมาณตันละ 143 ดอลลาร์สหรัฐ)
          ด้านรองประธานสหพันธ์ข้าวแห่งกัมพูชา (the Cambodia Rice Federation; CRF) กล่าวว่า ปัจจุบัน
กัมพูชาได้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางภาษี (the Everything-but-arms; EBA) ที่สหภาพยุโรปให้แก่กัมพูชา
แต่การกำหนดมาตรการภาษีใหม่จะมีผลต่อการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปแน่นอน ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันข้าวของกัมพูชาลดลง กัมพูชาจะต้องปรับตัวโดยการกระจายสินค้าออกไปยังตลาดอื่นๆ นอกสหภาพยุโรป ซึ่งกัมพูชา
กำลังมองไปที่ตลาดจีน ซึ่งในขณะนี้ถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชา
          รองประธานสหพันธ์ข้าวฯ ระบุว่า การเสนอใช้อัตราภาษีนำเข้าสำหรับข้าวกัมพูชาในครั้งนี้ ถือว่าไม่เป็นการสมควร เพราะเกษตรกรของประเทศอิตาลีและสเปนได้เปลี่ยนไปเพาะปลูกข้าวพันธุ์ Japonica เนื่องจากสร้างผลกำไรดีกว่าการปลูกข้าวพันธุ์ Indica แต่พวกเขาก็ยังคงตำหนิว่า กัมพูชาและเมียนมาร์ส่งออกข้าวสายพันธุ์ Indica ที่มีราคาถูกกว่าไปตีตลาดในสหภาพยุโรป ดังนั้นเกษตรกรของกัมพูชาจะต้องปรับเปลี่ยนไปปลูกข้าวพันธุ์อื่นๆ และกระจายสินค้าไปยังตลาดอื่นๆ ด้วย เพื่อความอยู่รอด
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
          อินโดนีเซีย
          ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (the Indonesia Stock Exchange; IDEX) รายงานว่า แนวโน้มการบริโภคข้าว
ของกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางได้เริ่มหันไปบริโภคข้าวเกรดพรีเมียมทดแทนข้าวคุณภาพปานกลางมากขึ้น ซึ่งตามรายงานของบริษัท PT Buyung Poetra Sembada (HOKI) ที่เป็นผู้ผลิตข้าว ระบุไว้ในรายงานการเงินของบริษัท
ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทมีรายได้เติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 17.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
โดยรายได้ในส่วนของข้าวเกรดพรีเมียมเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.6
          ทางด้านผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ผู้บริโภคเริ่มหันไปบริโภคข้าวคุณภาพดีมากขึ้น โดยในช่วงไม่กี่ปีมานี้แนวโน้มของราคาข้าวในตลาดจะพิจารณาจากข้าวคุณภาพดีมากกว่าข้าวคุณภาพปานกลาง นอกจากนี้หากสำรวจพฤติกรรม
การบริโภคแล้วจะพบว่า ในช่วงที่ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นผู้บริโภคจะไม่หันกลับไปซื้อข้าวคุณภาพปานกลาง แต่จะเลือกใช้วิธีบริโภคข้าวคุณภาพดีในปริมาณที่ลดลง
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.25 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.77
และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.39 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.10 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.75
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ10.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49
และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 318.20 ดอลลาร์สหรัฐ (10,416 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 321.60 ดอลลาร์สหรัฐ (10,502 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06
และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 86 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2
สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 368.32 เซนต์ (4,808 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 372.80 เซนต์ (4,854 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 46 บาท

 
 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.98 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.53 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนพฤศจิกายน 2561
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.71 ล้านตัน (ร้อยละ 5.72 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.44 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.52 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.17  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.71 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.10 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 11.96
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.87 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.46
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.85 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 15.13 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.85
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 225 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,365 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 230 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,511 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.17
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,974 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,328 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.40

 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
 


อ้อยและน้ำตาล 
 
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน       
  1. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
          รายงานการส่งออกน้ำตาลทรายดิบของอินเดีย
          กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของอินเดีย รายงานว่า สมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดีย(ISMA) ได้ลงนามกับบริษัท COFCO ของจีนในสัญญาส่งออกน้ำตาลทรายดิบไปยังประเทศจีนในต้นปี 2562 จำนวน 15,000 ตัน นอกจากนั้นกระทรวงการค้ายังกล่าวว่าอินเดีย
มีแผนที่จะส่งออกน้ำตาลทรายดิบไปจีนในปีหน้าจำนวน 2 ล้านตัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการลดสต็อกน้ำตาลที่มีเป็นจำนวนมาก และลดการขาดดุลทางการค้ากับประเทศจีน



 
 

 
ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.00 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.07
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา                
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 874.60 เซนต์ (10.66 บาท/กก.) สูงขึ้นจาก
บุชเชลละ 871.04 เซนต์ (10.58 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 305.24 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.12 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 309.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.23 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.35
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.63 เซนต์ (20.19 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 28.04 เซนต์ (20.44 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.46


 

 
ยางพารา
 

 

 
สับปะรด
 

 
 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.65 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 20.33 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 21.25
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 792.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 794.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 700.60 ดอลลาร์สหรัฐ (22.93 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 702.00 ดอลลาร์สหรัฐ (22.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 577.80 ดอลลาร์สหรัฐ (18.91 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 578.80 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 424.20 ดอลลาร์สหรัฐ (13.89 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 424.80 ดอลลาร์สหรัฐ (13.87 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 786.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.75 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 788.20 ดอลลาร์สหรัฐ (25.74 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.17 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.66
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.92 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 11.04
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 76.59 เซนต์
(กิโลกรัมละ 55.99 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 78.61 เซนต์ (กิโลกรัมละ 57.32 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.57แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.33 บา

 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,676 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,329 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,349 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 1.48
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 838 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 


ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่เริ่มมีมากขึ้น  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  60.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 57.41 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.99  บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.35 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 64 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อเริ่มมีมากขึ้น ขณะที่ความต้องการบริโภคมีไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.79 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.21 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 32.97 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.98 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  32.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นสัปดาห์ที่ผ่านมา   เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลท่องเที่ยวและเทศกาลเฉลิมฉลองต่างๆ ทำให้ภาวะตลาดไข่ไก่เริ่มคึกคัก  ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่เริ่มมีมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  270 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 240 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 12.50 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 277 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 261 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 281 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ  261  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ  7.66

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 325 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 339 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.14  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.05 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.07 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.41 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.94 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


 


 
ประมง
 
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 9 – 15 พฤศจิกายน 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.75 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.75
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 87.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.65 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.85 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 132.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.45 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 130.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.44 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 86.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.95 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.27 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 9 – 15 พ.ย. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.71 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 29.71 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท